เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[401] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยเหตุปัจจัย (3)
[402] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยเหตุปัจจัย (3)
[403] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่เป็น
อัพยากตวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[404] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :257 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระเสขะ
พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พระเสขะหรือ
ปุถุชนเห็นแจ้งกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา บุคคลรู้จิตของบุคคล
ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นกุศลด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนกุศล
เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศลโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศลเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[405] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วยินดี
เพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึง
เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานแล้วยินดีเพลิดเพลินฌาน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินฌานนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ
จึงเกิดขึ้น สำหรับท่านผู้มีวิปฏิสาร เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
[406] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว เห็นแจ้งกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นกุศลด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะ
หรือปุถุชน เห็นแจ้งกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศล
ดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
กุศล เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับแล้ว จิตตุป-
บาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :258 }